Fuengsilapa Sarayutpitag
4 February 1969 (BE 2512)
with a translation by Paul
Trafford,
edited by Pornapit Darasawang
21 February 2010 (BE 2553)
Preface
This article was written by Fuengsin Trafford (nee Sarayutpitag) as a contribution to the memorial book for her father (อนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.อ. หลวงศรายุธพิทักษ์), for the occasion of his cremation on 6 May 1969. It describes her efforts and experiences as a Thai person trying to practise Buddhism in Hampshire in the second half of the ’60s.
Presented here are a translation into English followed by the original Thai. Note that the translation has depended on the use of electronic tools and as such no guarantee is made to its accuracy, so it should be considered a draft version. However, this version does include amendments kindly suggested by Asst. Prof. Dr. Pornapit Darasawang, so the resulting text should be reasonably correct, albeit a fairly literal rendering. The translator apologises for any errors that remain – suggestions for improvements are welcome.
– – –
Translation
Ever since I left my homeland to be in England nearly 5 years ago I have not had the opportunity to go to a temple to make merits, to put almsfood in a monk’s bowl, or to listen to the Buddha’s teachings. Yet I still have faith in the Buddha’s teachings. In my free time I am always trying to read books on Dhamma, sit and practise Vipassana meditation, and practise the Dhamma to the best of my ability. I keep these in mind, thinking that I might yet some day get to meet with other Buddhists.
It probably would have been the good deeds that I performed in previous lives which gave me the opportunity to go and visit Wat Buddhapadipa, a Thai temple in London, where Tan Chaokhun Sobhana Dhammasudhi held the position of abbot. He gave me the address of a Belgian, who is a member of the Hampshire Buddhist Society with whom I have been associating: … PAYNES ROAD, SOUTHAMPTON. I have subsequently had contact with them.
Later this society arranged to give a talk at the University of Southampton, which was held regularly, every month. I tried to go and listen whenever I had the opportunity. It seemed that almost the entire audience were Europeans, about 40 -50 people, nearly half of them university students. The speakers were Mrs. Jane Browne, Secretary of the Society, and other members. Sometimes bhikkhus from Thailand and other countries were invited to come and give a Dhamma discourse: with a lecture followed by sitting meditation for about 20 minutes.
Approximately 2 months later, Mr. B. Dyas, President of the Society, kindly brought me to Crabwood Farm House, which is located to the west of Winchester, once the capital of England. Mrs. Browne, the home owner, is someone whose mind is shining and clear with faith in Buddhism. She has dedicated one room to serve as a Buddha vihara and the first night in this Buddhist centre was the first opportunity I had to join a gathering in which I felt really enthused, where the atmosphere of that place was so peaceful and sacred, just like walking into the chapel of a Buddhist temple in Thailand. A large white Buddha rupa was placed prominently on a shrine that was beautifully decorated. There were very small Buddha rupas neatly arranged around the side. There were photos of monks, well known in Thailand for their research in Samadhi and Vipassana, including Phra Maha Boowa, Wat Pah Baan Taad, in Udon province, where Mrs. Browne had been a disciple of Tan Acharn during a visit to Thailand. I hurried straight over to pay respects to the Buddha with great delight and gladness.
The tranquillity in that place is difficult to describe for it is located in the midst of a wood and the farm is far away from traffic and from people travelling back and forth. Sometimes you can hear coming indistinctly from afar the sound of a bird or a forest creature, and then it is quiet until you can just about hear people breathing. So it can really be said to be a Buddhist temple appropriate for the task of sitting and practising true Dhamma. That night there were a total of 12 members present, all of whom had travelled from other towns and were British or from the continent of Europe. I was introduced to everyone and they were all very glad to meet a Thai person who had faith in Buddhism as well. Also, we exchanged interesting experiences concerning both Thailand and Buddhism.
The ceremony began with a set chanting together, with the chanting the same in every aspect as in Thailand. When the chanting finished, Mr. Dyas played an audio tape with a recording of Thai monks giving a blessing. Everyone took the Five Precepts. Then Mr. Dyas hit a gong to signal the start of the Vipassana meditation practice. It lasted for about 20 minutes, with most members having to sit on a chair because they were not used to sitting on the floor – apart from the President, Secretary and myself, who were seated cross-legged on the floor. Next there was a reading of one section from a Dhamma book; every member had the right to select the text to read aloud to the rest. When we had finished reading, there followed a discussion on the text. Before we travelled back, Mrs. Browne served all of us coffee. Those people who had mental conviction would help Buddhism and the Society by putting money in a donation box by the entrance door. Those who were interested could borrow a Dhamma book and there were many available to read.
Mrs. Browne has asked me to teach Thai language, which I agreed wholeheartedly to do. Afterwards Crabwood Farm House also became a place where I could go to stay and regularly practise Vipassana meditation – which I would never do without expressing my gratitude to Mrs. Browne.
The meetings at Southampton University were run by the Society in order to publicise Buddhism to the general public who were interested. However, the gatherings at Crabwood Farm House were mainly for regular members. The President of the Society had the conviction of mind to have one room dedicated to the Buddhist Society to serve as a centre.
All kinds of activities were organized in that intensely spiritual room. Just like the vihara of a Buddhist temple, it was magnificently decorated, having a large golden Buddha image set prominently, presiding over the shrine, surrounded by small Buddha images on a ledge over a cabinet. In one corner of the room there are Dhamma books, for which one member serves as librarian.
Whenever I go to participate in that gathering there is chanting, receiving the precepts using the tape recording of Thai monks chanting and Vipassana meditation. After the Vipassana meditation, I have the duty of leading everyone in spreading loving kindness with some words of Pali. In addition, I also have the duty of helping the Secretary in the task of printing plus some other duties. In April 2511B.E. I prepared a translation for part of a slim volume of Buddha Desana [collection of teachings] of Phra Maha Boowa, the abbot of Wat Pah Baan Taad, rendered into English for Mrs. Browne and three others who used to be Tan Acharn’s disciples. The President got to read the translation and was very interested so I attempted to learn more vocabulary concerning Dhamma, increasing my knowledge all the time.
On the occasion of the Vesak Puja last year, the Buddhist Society was able to make merits by preparing food to offer Buddhist monks from Wat Buddhapadipa in London. I had the duty of being the main cook for Thai food. I took fruit to offer and arranged to bring the entire group as well to Wat Buddhapadipa, where Tan Chao Khun Sobhana, the Abbot, and the Sangha gave us a warm welcome. After a minor chant to rejoice in the merits, Tan Chao Khun Sobhana gave a Dhamma Desana.
People were often keen to ask questions about Buddhism. I counted my self as fortunate to have been in a Buddhist group when I was still in Thailand, as I regularly got to study Abhidhamma at Wat Santidhammaram, Tambol Samre, every Sunday, where Phra Luang Phichit Chalor, the Abbot, who has since passed away, had given teachings for upasakas and upasikas [lay Buddhist devotees – male and female, respectively] and interested members of the public. In addition, I had the opportunity to learn many methods of Vipassana meditation, such as those taught by Tan Luang Phichit and by Tan Chao Khun Mongkol Thepmuni, Abbot of Wat Paknam Bhasicharoen, who was knowledgeable in many aspects. These teachings that I had brought with me were now beneficial to me in answering many kinds of questions on the subject of Buddhism and Samatha-Vipassana. Around this time Mrs. P. Hopkinson, an English lady, became interested and practiced the Wat Paknam method of meditation. Even though she did not have [theoretical] understanding of the subject of Vipassana, it was okay to make such an effort to meditate because it was always effective for peace of mind. In my free time, I was able to persuade Buddhists and people from other religions to participate in the Buddhist Society, which will be set up this summer. Mrs. C. Cooke, a Burmese lady, who had settled in England some 20 years ago and had since forgotten Buddhism, said in September last year that she would also come along. I was able to make contact with Mrs. J. Bland, who had respect for Buddhism, but who had never been a member, or ever met with actual Buddhists. We had discussions and debates, and she was able to build up a lot of confidence and faith. Moreover, together with the Society, she solicited contributions in charity fund-raising to help Tibetan monk refugees in India, as they were followers of the Buddha, by organizing a party at Crabwood Farm House. There was a screening of a film about Tibet and a discourse about religion in general, stalls selling goods, often made in Tibet. I was able to attend the event and help by serving drinks to all the guests.
The majority of Buddhists with whom I had the opportunity to chat informally had strong faith, comprising all kinds of religions and denominations, for example Jains, Tibetans, Mahayana and Hinayana. Many had roots in Christianity, with some having subsequently travelled to the Far East, where they received their first impressions of monasteries, Buddhists monks and Buddhist followers until there came a change and they developed faith in Buddhism. Some people who had never travelled also became interested. These people hadn’t believed in God since they were young and so they didn’t want to go to church. Now they converted to become a member of the Buddhist society. There was one such young member who gave up his household wealth to ordain as a novice monk in a Tibetan monastery that was established in Scotland. Even prisoners in a number of prisons, for example in Winchester and the Isle of Wight, were also interested. They wanted to read and practise Dhamma, for which the Secretary has already arranged for a teacher to pay a visit and provide assistance.
Another interesting case was a Buddhist who was originally a Christian. They even came to have faith in the Lord Buddha’s Enlightenment, in the workings of the eternal wheel of death and rebirth, and in the principle that whatever karma, the only things to watch out for are those past life accumulations. In their previous religious teaching, including the philosophy of life, there was no awareness of there being continually imprints that individuals cause by themselves. There were situations that led to Buddhism becoming mixed up with Christianity or attempts to adapt and change Dhamma to suit their own dispositions. Actually, the original meaning of that Dhamma principle was very far from the comprehension of that person. Anyway, when we make the effort to watch deeply, we shall then be able to understand and excuse these eggheads. A person who tends to pursue this Dhamma will read a great deal and have undiminishing perseverance in the task of performing Dhamma. In this way, Mrs. Tucker, a Buddhist who came originally from Germany, then met up with me regularly every 2-3 weeks in order to gain a good understanding. We discussed, made our arguments and exchanged ideas thoroughly to come to a common understanding concerning Vipassana meditation and the principles of Dhamma.
Before I end this article I would like to take this opportunity to invite everyone who has the occasion to go to England to visit the Hampshire Buddhist Society, where you will receive a warm welcome by the President, the Secretary, and all the Buddhists, including myself. I have made firm my constant determination that as long as I remain in England, I shall try to help the Buddhist society and disseminate Buddhist teachings to the best of my intelligence and ability.
In addition, included here, Mr. Brian Dyas, President of the Society, and Mrs. Jane Browne, the Secretary, have each kindly written a short article about the history of the Buddhist Society, which I asked of them as a favour.
Fuengsilapa Sarayutpitag.
Southampton, England.
4 February 2512.
ส่วนหนึ่งของชาวพุทธในอังกฤษ
นับตั้งแต่ข้าพเจ้าออกจากบ้านเมืองมาอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นเวลาเกือบ ๕ ปี ไม่มี โอกาสไปวัดทำบุญตักบาตร และฟังพระธรรมเทศนา ข้าพเจ้ายังมีความเลื่อม ใสในพุทธธศาสนา อยู่เสมอ ในยามว่างได้พยายามอ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรม นั่งสมาธิวิปัสสนา และปฏิบัติธรรม เท่าที่สามารถจะทำได้ ในใจนั้นเฝ้าแต่คิดว่าคงจะได้พบกับชาวพุทธเข้าสักวันหนึ่ง
คงจะเป็นด้วยกุศลที่ได้บำเพ็ญมา แต่ชาติปางก่อน ที่วันหนึ่งข้าพเจ้าได้เดินทางไปวัด พุทธประทีปซึ่งเป็นวัดไทยในกรุงลอนดอน ท่านเจ้าคุณโสภณธรรมสถิตย์ เจ้าอาวาสได้ กรุณาให้ที่อยู่ของชาวเบลเยี่ยมผู้หนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของ Hampshire Buddhist Society แก่ ข้าพเจ้าสมาคมนี้ตั้งอยู่ที่ … PAYNES ROAD, SOUTHAMPTON ซึ่งต่อมาการติดต่อได้เริ่มต้นขึ้น
ต่อมาสมาคมนี้ได้จัดให้มีปาฐกถาที่มหาวิทยาลัย Southampton ซึ่งมีเป็นประจำ ทุกเดือน ข้าพเจ้าพยายามไปฟังเท่าที่โอกาสจะอำนวยปรากฏว่าผู้ฟังเกือบทั้งหมดเป็นชาว ยุโรป ในจำนวน ๔๐ -๕๐ คน เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเสียเกือบครึ่งหนึ่ง ผู้บรรยายคือ Mrs. Jane Browne ผู้เป็นเลขานุการของสมาคม และสมาชิกคนอื่น ๆ บางครั้งพระภิกษุสงฆ์ ไทยและชาติอื่น ๆ ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรม หลังจากการบรรยายมีการนั่งสมาธิวิปัสสนา ประมาณ ๒๐ นาที
ประมาณ ๒ เดือน ให้หลัง Mr B. Dyas ประธานของสมาคมได้กรุณาพาข้าพเจ้า ไปยัง Crabwood Farm House ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของ Winchester เมืองหลวงเก่าของอังกฤษ Mrs. Browne เจ้าของบ้านเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้อุทิศห้อง หนึ่งในบริเวณให้เป็นวิหารพระและศูนย์กลางของสมาคม คืนแรกที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปร่วมปร ะ ชุมมีความรู้สึกตื่นเต้นมากบรรยากาศในที่นั้นเต็มไปด้วยความสงบเยืยกเย็นและศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเสมือนกับได้ย่างเท้าเข้าไปในโบสถ์วิหารเมืองไทย พระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่บนหิ้งบูชา ซึ่งตกแต่งอย่างสวยงาม มีพระพุทธรูปองค์เล็กๆ เรียงรายอยู่รอบข้าง มี ภาพถ่ายพระสงฆ์ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านสมาธิและวิปัสสนาในประเทศไทยเช่น พระมหาบัว วัด ป่าบ้านตาดจังหวัดอุดร ซึ่ง Mrs. Browne เคยเป็นศิษย์ของท่านเมื่อคราวเดินทางมาเยือนประเทศไทย ข้าพเจ้ารีบตรงไปนมัสการพระด้วยความปิติปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง
ความเงียบสงบ ณ ที่นั้นยากที่จะบรรยายให้เข้าใจได้ เนื่องจากตั้งอยู่ในท่ามกลาง ป่าละเมาะและทุ่งนาไกลจากยวดยานและผู้คนสัญจรไปมาบางครั้งจะได้ยินเสียงนกและสัตว์ ป่าแว่วมาแต่ไกลนอกจากนั้นแล้วเงียบจนแทบจะได้ยินคนหายใจก็ว่าได้ช่างเป็นวิหารพระ ที่เหมาะสมแก่การนั่งธรรมจริง ๆ คืนวันนั้นมีสมาชิกรวม ๑๒ คน แต่ละคนล้วนแต่เดินทาง ไปจากเมืองอื่น ๆ และเป็นชาวอังกฤษและชาวยุโรป ประธานได้แนะนำให้ข้าพเจ้ารู้จักทุกคนซึ่ง ท่านเหล่านั้นยินดีมากที่ได้พบคนไทยและนับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ต่างก็ไต่ถามทุกข์สุข เหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศไทย และพุทธศาสนาด้วยความสนใจ
พิธีเริ่มด้วยการสวดมนต์พ ร้อมกัน บทสวดเหมือนบทสวดในเมืองไทย ทุกอย่าง เมื่อสวดจบ Mr. Dyas เปิ ดเทปซึ่งบันทึกเสียงพระสงฆ์ไทยสวดมนต์ให้ศีล ทุกคนรับศีล ๕ ต่อมา Mr. Dyas ตีฆ้องเป็นสัญญาณเริ่มต้นนั่งสมาธิวิปัสสนาเป็นเวลาประมาณ ๒๐ นาที สมาชิกส่วน ใหญ่ต้องนั่งเก้าอี้ เพราะไม่เคยชินกับการนั่งพื้น นอกจากประธาน เลขานุการและข้าพเจ้าซึ่งนั่ง ขัดสมาธิบนพื้น รายการต่อไปเป็นการอ่านข้อความตอนหนึ่งจากหนังสือธรรมซึ่งสมาชิกทุกคน มีสิทธิเลือกข้อความไปอ่านให้ทุกคนฟัง เมื่ออ่านจบแล้วมีการอภิปรายเกี่ยวกับข้อความนั้น ก่อนที่เราจะเดินทางกลับ Mrs. Browne ได้จัดกาแฟมาบริการพวกเราทั่วกัน ผู้ที่มีจิตศรัทธา จะช่วยเหลือพุทธศาสนา และสมาคมได้บริจาคเงินโดยใส่ในกล่องข้างประตูทางเข้า ผู้ที่สนใจ จะขอยืมหนังสือธรรมก็มีให้อ่านมากมาย
Mrs. Browne ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าให้สอนภาษาไทยให้ ซึ่งข้าพเจ้ารับปากด้วย ความเต็มใจ หลังจากนั้น Crabwood Farm House ก็ได้เป็นสถานที่ที่ข้าพเจ้าไปพักและนั่ง สมาธิวิปัสสนาเป็นประจำซึ่งอดที่จะแสดงความขอบคุณ Mrs. Browne เสียมิได้
การประชุมที่มหาวิทยาลัย Southampton นั้นทางสมาคม มี นโยบายจะให้เป็นเครื่อง เผยแพร่พุทธศาสนาแก่มหาชนทั่วไปที่สนใจส่วนที่ Crabwood Farm House นั้น เป็นที่สำหรับสมาชิกประจำเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าผู้ใดนอกเหนือไปจากสมาชิกประจำต้องการจะไป ร่วมประชุมก็ไม่มีการขัดข้อง
ประธานของสมาคมได้มีจิตเลื่อมใสอุทิศห้องหนึ่งให้แก่พุทธสมาคมเพื่อเป็นศูนย์กลางกิจกรรมต่างๆ ในห้องจัดเหมือนวิหารพระมีการตกแต่งอย่างงดงาม มีพระพุทธรูปสีทอง องค์ใหญ่ตั้งเด่นเป็นประธานอยู่บนหิ้งบูชาอันล้อมรอบไปด้วยพระพุทธรูปองค์ย่อมๆ ลงมา ตู้ หนังสือธรรมตั้งอยู่มุมหนึ่งของห้องซึ่งสมาชิกผู้หนึ่งรับหน้าที่เป็นบรรณารักษ์
ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าไปร่วมประชุมที่นั่นมีการสวดมนต์ รับศีลจากเทปซึ่งบันทึกเสียง สวดมนต์ของพระสงฆ์ไทยนั่งสมาธิวิปัสสนา หลังจากการนั่งสมาธิวิปัสสนาข้าพเจ้ามีหน้าที่ กล่าวคำแผ่เมตตาเป็นภาษาบาลี นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการในด้านการพิมพ์ และงานอื่นๆ อนึ่ง เมื่อเดือนเมษายนพ.ศ. ๒๕๑๑ ข้าพเจ้าได้จัดแปลพระธรรมเทศนาบางตอน ซึ่งพระมหาบัวเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด เป็นผู้แสดงเป็นภาษาอังกฤษให้แก่ Mrs. Browne และ ชาวอังกฤษผู้เคยเป็นศิษย์ของท่านอีกรวม ๓ คน ประธานได้อ่านและสนใจมากทั้งนี้ข้าพเจ้า ได้พยายามศึกษาศัพท์เกี่ยวกับธรรมเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา
ในการทำบุญเนื่องในวันวิสาขะบูชาปีที่แล้ว พุทธสมาคมนี้ได้ จัดอาหารไปถวาย พระสงฆ์วัดพุทธประทีปในลอนดอน ข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นแม่ครัวประกอบอาหารไทย ประธาน ได้นำผลไม้ไปถวายและจัดพาคณะทั้งหมดไปด้วยท่านเจ้าคุณโสภณ ๆ เจ้าอาวาสและคณะ สงฆ์ได้ต้อนรับด้วยความอบอุ่นหลังจากการสวดอนุโมทนา ท่านเจ้าคุณโสภณๆ ได้แสดง พระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์
มีอยู่บ่อยครั้งที่มีผู้ซักถามเกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วยความสนใจ นับว่าโชคดีที่คณะที่ ข้าพเจ้ายังอยู่ในประเทศไทย ได้ศึกษาอภิธรรมที่วัดสนติธรรมารามตำบลสำเหร่ เป็นประจำ ทุกวันอาทิตย์ซึ่งพระภิกษุ หลวงพิชิตชโลธรเจ้าอาวาสผู้ล่วงลับไปแล้วได้เปิดสอนแก่อุบาสก อุบาสิกา และผู้ที่สนใจทั่วไปนอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้มีโอกาสเรียนสมาธิวิปัสสนาทั้งแบบของ ท่านและแบบของท่านเจ้าคุณมงคลเทพมุนีเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญด้วยความรู้ทั้งหลาย นี้ได้กลับมาเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าในปัจจุบันในการตอบคำถามทั้งในด้านธรรมและสมถะ-วิปัสสนา ขณะนี้ Mrs. P. Hopkinson ชาวอังกฤษได้สนใจและปฏิบัตินั่งสมาธิแบบวัดปากน้ำแม้ว่าจะไม่เข้าใจในด้าน วิปัสสนาก็ได้พยายามนั่งสมาธิอยู่เสมอเนื่องจากได้ผลทางด้านความสงบในจิตใจ ในยามว่างข้าพเจ้าได้ชักชวนชาวพุทธและศาสนาอื่น ๆ ไปร่วมประชุมพุทธสมาคมซึ่งฤดูร้อนที่จะถึงนี้ Mrs. C. Cooke ชาวพม่าซึ่งได้มาตั้งรกรากอยู่ในอังกฤษเป็นเวลาถึง ๒๐ ปี จนลืมพุทธศาสนาได้รับปากว่าจะไปประชุมด้วยในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ติดต่อกับ Mrs. J. Bland ชาวอังกฤษ ซึ่งนับถือพุทธศาสนาแต่ยังไม่เคยเป็นสมาชิกหรือพบกับชาวพุทธปรากฏว่าได้มี การอภิปรายถกเถียงและสร้างความมั่นใจและศรัทธาให้แก่ท่านผู้นั้นเป็นอัน มากอนึ่งในการเรี่ยไรจัดหาเงินทุนการกุศลช่วยคณะสงฆ์ชาวธิเบตผู้ลี้ภัยใน อินเดียในฐานะเป็น พุทธ ศาสนิกชนด้วยกันทางสมาคมได้จัดงาน Party ที่ Crabwood Farm House มีการฉาย ภาพยนตร์เกี่ยวกับประเทศธิเบตปาฐกถาเกี่ยวกับศาสนาทั่วไป การออกร้านขายของพื้นเนืองธิเบตซึ่งข้าพเจ้าได้ไปร่วมงานและช่วยบริการเครื่องดื่มแก่แขกทุกคน
ชาวพุทธส่วนใหญ่ที่ข้าพเจ้ามีโอกาสได้สนทนาวิสาสะมีศรัทธากล้าแข็งประกอบด้วย นิกายต่าง ๆ เช่น เชน ธิเบตทั้งมหายานและหินยาน หลายคนมีกำเนิดในศาสนาคริสเดียนบางคนหลังจากที่ได้เดินทางมาภาคตะวันออกไกลก็เกิดความประทับใจในวัดวาอารามพระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน จนกระทั่งเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ ส่วนผู้ที่ไม่เคยมาก็สนใจ เนื่องจาก มีอุปนิสัยมาแต่ยังเยาว์ไม่ต้องการไปโบสถ์นับถือพระเจ้า และหันมาเป็นสมาชิกพุทธสมาคม มี อยู่ท่านหนึ่งซึ่งยังอายุน้อยและสละสมบัติทาง โลกไปบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัด ธิเบตซึ่งตั้ง อยู่ใน สก๊อตแลนด์ แม้กระทั่งผู้ต้องขังในเรือนจำบางแห่ง เช่นที่ Winchester และ The Isle of Wight ก็สนใจต้องการอ่าน และปฎิบัติธรรม ซึ่งเลขานุการได้จัดผู้บรรยายไปพบและช่วย เหลือแล้ว
ข้อที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือชาวพุทธบางคนที่ถือกำเนิดในศาสนาคริสเตียน แม้ว่าจะหันมาเลื่อมใสในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความเห็นแจ้งในการเวียนว่ายตายเกิดและ หลักของกรรมก็ตาม แต่สิ่งแวดลอมเก่าๆ ในศาสนาเดิม และการสอน ตลอดจนปรัชญาของชีวิตยังฝังใจบุคคลผู้นั้นอยู่ตลอดมาโดยเจ้าตัวไม่รู้สึก ได้เป็นเหตุ ให้นำศาสนาพุทธไปปะปนกับศาสนาคริสต์ หรือพยายามดัดแปลงธรรมให้เหมาะสมกับอุปนิสัยของตน ซึ่งที่แท้จริงแล้ว ความหมายดั้งเดิมของหลักธรรมข้อนั้นห่างไกลจากความเข้าใจของผู้นั้นมากอย่างไรก็ตามเมื่อ เราพยายามมองดูอย่างลึกซึ้งแล้วก็จะสามารถเข้าใจและให้อภัยปัญญาชนเหล่านี้ได้ คนเห ล่านี้ มักจะอ่านมาก และประกอบด้วยความเพียรอันไม่ย่อหย่อนในการปฎิบัติธรรม ฉะนั้นทุก ๆ ๒- ๓ สัปดาห์ Mrs. Tucker ชาวพุทธซึ่งมาจากเยอรมันจึงได้พบกับข้าพเจ้าเป็นประจำเพื่อความ เข้าใจอันดี เราได้อภิปรายถกเถียงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยว กับสมาธิวิปัสสนาและ หลักธรรมทั่ว ๆ ไป
ก่อนจะจบบทความนี้ข้าพเจ้าขอถือโอกาสเชิญ ทุก ท่านที่จะได้มี โอกาส เดิน ทางไป ประเทศอังกฤษได้แวะเยี่ยม Hampshire Buddhist Society ซึ่งท่านจะได้รับการต้อนรับอัน อบอุ่นจากประธาน เลขานุการ ชาวพุทธทุกคนรวมทั้งข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าได้ตั้งปณิธานอยู่เสมอว่า ตราบใดที่ยังอยู่ในประเทศอังกฤษจะพยายามช่วยเหลือพุทธสมาคมและเผยแพร่พุทธ ศาสนาเท่าที่สติปัญญาและความสามารถจะอำนวยให้
อนึ่ง Mr. Brian Dyas ประธานของสมาคมและ Mrs. Jane Browne เลขานุการ ได้กรุณาเขียนบทความสั้น ๆ เกี่ยวกับความเป็นมาของพุทธสมาคมให้ ซึ่งข้าพเจ้าขอขอบ พระคุณไว้ในที่นี้ด้วย
เฟื่องศิลป์ ศรายุธพิทักษ์
เซาท์แธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ
๔ ก . พ . ๒๕๑๒